วันอังคารที่ 24 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

เผย 5 เคล็ด(ไม่)ลับ เลือกอาหารเพื่อสุขภาพตามช่วงอายุ

ช่วยให้สุขภาพดี ต้านอนุมูลอิสระ ห่างโรค



ปัจจุบันการบริโภคอาหารเพื่อสุขภาพในชีวิตประจำวัน เช่น บริโภคผักและผลไม้เป็นประจำทุกวัน โดยเลือกผักและผลไม้ที่มีสีต่างๆกัน ทำให้ร่างกายได้รับเส้นใยอาหารแลพไฟโตเคมิคัลที่มีคุณสมบัติเป็นสารต้านออกซิแดนท์ เช่น ไลโคฟีนในมะเขือเทศ แคโรทีนอยด์ในแครอท และคลอโรฟิลด์ในผักใบเขียว สารออกซิแดนท์เป็นสาเหตุของการแก่ก่อนวัยและการเกิดโรคภัยต่างๆ ความนิยมบริโภคถั่วเหลือง แหล่งโปรตีนจากพืชซึ่งปลอดภัยมากกว่าโปรตีนจากสัตว์ และการบริโภคน้ำมันพืชมีกรดไขมันจำเป็น พบมากในน้ำมันมะกอก รำข้าว ทานตะวัน และน้ำมันงา โดยเฉพาะการได้รับวิตามินอีซึ่งเป็นสารต้านอนุมูลอิสระ ปัจจุบันน้ำมันพืชเข้ามามีบทบาทต่อผู้รักสุขภาพอย่างขาดไม่ได้

เคล็ดไม่ลับ 5 วิธีการเลือกอาหารเพื่อสุขภาพตามช่วงอายุ

การรู้จักเลือกรับประทานอาหารไม่เพียงแต่ช่วยเรื่องสุขภาพเท่านั้น หากยังเอื้อต่อความสวยความงามอีกด้วย ความจริงการเลือกอาหารให้เหมาะสมตามช่วงวัยก็เป็นอีกวิธีหนึ่งที่ช่วยให้สุขภาพดีได้ เพราะในแต่ละช่วงอายุมีความแตกต่างกันในด้านพัฒนาการของร่างกายและลักษณะการดำเนินชีวิต วันนี้จึงขอเสนอเรื่องราวของอาหารที่เกี่ยวข้องกับช่วงอายุทั้ง 4 ซึ่งไม่ใช่เรื่องยากแต่อย่างใดที่คุณจะลองทำตาม

วัยที่ขึ้นต้นด้วยเลข 2 ช่วงอายุตั้งแต่ 20 ปีขึ้นไปเป็นช่วงที่ร่างกายมีการพัฒนาและเติบโตเต็มที่ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการเรียน การทำงาน และเป็นวัยที่ใช้ชีวิตอย่างไม่รู้จักเหน็ดเหนื่อย ยิ่งมีการเคลื่อนไหวในชีวิตประจำวันมากเท่าไร ร่างกายก็ยิ่งเผาผลาญและใช้พลังงานมากขึ้นเท่านั้น ดังนั้น ควรเลือกรับประทานอาหารที่เหมาะสม โดยเลือกรับประทานจำพวกเนื้อสัตว์และถั่วต่างๆ รวมถึงข้าวและแป้งมากเป็นอันดับหนึ่ง ตามด้วยผักผลไม้เป็นอันดับสอง ส่วนนมและอาหารทดแทนแคลเซียมต่างๆ เช่น เต้าหู้ ปลาเล็กปลาน้อย นมถั่วเหลืองเสริมแคลเซียม ตามมาเป็นอันดับสาม และให้ความสำคัญของไขมันเป็นอันดับสุดท้าย ปลาเป็นอาหารสมองที่ช่วยรักษาผนังเซลล์ประสาทในสมองให้แข็งแรง ไม่หลงลืมอะไรง่ายๆ ผักสีเขียวอย่างผักบุ้ง ผักกระเฉด ผักคะน้า ถั่วฝักยาว ช่วยบำรุงสายตา สร้างกระดูกและฟันให้แข็งแรง ผักผลไม้สีเหลืองอย่างกล้วยหอมก็ถือเป็นผลไม้คลายเครียดชนิดหนึ่ง

วัยที่ขึ้นต้นด้วยเลข 3 อายุขึ้นเลข 3 หลายคนเริ่มตกใจกลัว แต่การรู้จักเลือกรับประทานจะทำให้ผู้อื่นไม่สามารถเดาอายุคุณจากรูปร่างหน้าตาได้เลย ในช่วงเริ่มวัยผู้ใหญ่ความต้องการพลังงานยังคงอยู่ เพราะเป็นช่วงชีวิตของการทำงาน แต่ต้องเพิ่มความระมัดระวังในเรื่องของไขมันและโคเลสเตอรอลที่จะส่งผลกระทบกับรูปร่างหน้าตาภายนอกที่เห็นการเปลี่ยนแปลงได้ชัดเจน นอกจากนี้ยังส่งผลกระทบต่อสุขภาพร่างกายในอนาคตด้วย เพราะการรับประทานอาหารที่มีไขมันหรือโคเลสเตอรอลสูง เช่น หมูสามชั้น เนยแข็ง กะทิ เนยเทียม เป็นต้น จะสร้างปัญหาให้หลอดเลือดและหัวใจ แต่คุณสามารถเลือกรับประทานอาหารที่ช่วยลดไขมันและโคเลสเตอรอล เช่น ปลาทะเล ช่วยลดความดันโลหิต พวกถั่วเมล็ดแห้งอย่างถั่วแดง ถั่วเขียว ถั่วเหลือง ช่วยลดความเสี่ยงจากโรคหัวใจ และมีโปรตีนสูงเพื่อให้พลังงานแทนสัตว์ใหญ่ได้อีก อาหารจำพวกข้าว ธัญพืชไม่ขัดสี อย่างข้าวซ้อมมือ ขนมปังโฮลวีท มีใยอาหารสูง ช่วยให้อิ่มท้องนานและส่งผลดีต่อระบบลำไส้

วัยที่ขึ้นต้นด้วยเลข 4 วัยทองถูกเรียกแทนวัย 40 ปีขึ้นไป เนื่องจากสภาพร่างกายเริ่มเปลี่ยนแปลง โดยเฉพาะผู้หญิง ส่วนผู้ชายวัยนี้ก็จะเริ่มมีโรคต่างๆที่ไม่เคยออกอาการ ซึ่งเรียกกันว่าเป็น “วิถีทางธรรมชาติ” แต่ทั้งนี้การชะลอวัยหรือป้องกันโรคต่างๆที่มากับวัยไม่ได้ยุ่งยากเกินกว่าที่เราจะทำได้ สำหรับช่วงวัยนี้ความต้องการพลังงานจะลดลง แต่ความต้องการแคลเซียมและวิตามินต่างๆเพิ่มขึ้น ซึ่งจะได้รับจากผักผลไม้ที่มีกากใยอาหารสูง แล้วยังมีสารต้านอนุมูลอิสระอย่างวิตามินซีจากอาหารที่หารับประทานได้ง่าย เช่น ส้ม ฝรั่ง มะเขือเทศ แคนตาลูป ส่วนอาหารที่มีวิตามินอี ได้แก่ น้ำมันพืช เนยถั่ว ถั่วลิสง อัลมอนด์ นอกจากนี้ควรรับประทานเต้าหู้ โปรตีนไขมันต่ำ ซึ่งให้แคลเซียมมากกว่าเนื้อสัตว์อย่างอื่น แต่ไม่ควรลืมหลีกเลี่ยงอาหารที่เป็นตัวเร่งความแก่ให้เร็วขึ้น เช่น อาหารไขมันสูงประเภททอดกรอบหรือผัดน้ำมันมากๆ เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ และเครื่องดื่มกาเฟอีนทั้งหลาย

วัยที่ขึ้นต้นด้วยเลข 5 การก้าวเข้าสู่ช่วงวัย 50 เป็นต้นไปนั้นไม่ได้ส่งผลต่อร่างกายอย่างเดียว แต่ยังส่งผลต่อสภาพจิตใจด้วย เพื่อเตรียมพร้อมรับมือกับวัยนี้คุณควรเข้าใจการทำงานของร่างกายที่มีประสิทธิภาพลดลง โดยเฉพาะระบบการย่อยการดูดซึมอาหาร ทำให้ร่างกายขาดสารอาหารบางอย่าง ช่วงนี้คุณอาจไม่รู้สึกกระหายน้ำเท่าไหร่ แต่ควรดื่มน้ำให้สม่ำเสมอ อย่างน้อยวันละ 8-12 แก้ว เพื่อป้องกันการขาดน้ำโดยไม่รู้ตัว ควรรับประทานคาร์โบไฮเดรตให้น้อยลงและพยายามเลือกชนิดไม่ขัดสี เน้นอาหารจำพวกปลาเพื่อไม่ให้ขาดโปรตีน ที่สำคัญคือเป็นเนื้อสัตว์ที่ย่อยง่าย

วัยนี้จะพบปัญหากระดูกเปราะ กระดูกพรุนอย่างชัดเจน ดังนั้น ควรได้รับแคลเซียมอย่างเพียงพอ อาหารแคลเซียมสูงอยู่ในนม โยเกิร์ตชนิดครีม เนยแข็ง หรือแม้แต่ปลาตัวเล็กตัวน้อย พวกผักใบเขียวก็มี เช่น คะน้า กวางตุ้ง และบรอกโคลี จะช่วยลดปัญหาเรื่องกระดูกให้รุนแรงน้อยลง การแก้ไขภาวะขาดน้ำอาจให้ดื่มน้ำสมุนไพร เช่น กระเจี๊ยบ เก๊กฮวย น้ำใบเตย นอกเหนือจากน้ำเปล่า เพราะช่วยบรรเทาโรคบางอย่างและให้ประโยชน์กว่าการดื่มเครื่องดื่มที่มีกาเฟอีน

สิ่งสำคัญไม่ว่าคุณจะอยู่ในช่วงวัยใดควรดูแลเรื่องการกินอยู่ตลอดเวลา ไม่ว่าจะเป็นโรคหรือไม่ก็ตาม เพราะคนส่วนใหญ่มักจะดูแลตัวเองเมื่อพบว่าตัวเองมีโรคหรือมีปัญหาสุขภาพแล้วเท่านั้น นอกจากนี้การเพิ่มกิจกรรมเคลื่อนไหวระหว่างวันให้มาก ทำบ่อยๆจนติดเป็นนิสัย จะช่วยให้สุขภาพดีมากยิ่งขึ้น โดยเฉพาะประโยชน์ด้านระบบการไหลเวียนเลือด ควบคุมน้ำหนักตัว และลดความเครียดของร่างกายได้

รณรงค์ลดการบริโภคอาหารฟาสต์ฟู้ด



รณรงค์ลดการบริโภคอาหารฟาสต์ฟู้ด

เคล็ดลับ 7 ประการเพื่อโภชนาการที่ดี

เคล็ดลับ 7 ประการเพื่อโภชนาการที่ดี
คุณแม่จะช่วยปลูกฝังนิสัยการทานอาหารที่ดีให้ลูกได้อย่างไร เคล็ดลับ 7 ประการต่อไปนี้จะช่วยวางรากฐาน
ให้ลูกน้อยในวัยหัดเดินทานอาหารที่ดีได้เองไปตลอดได้

1. ผสมเข้าด้วยกัน
หลักสำคัญของการทานอาหารให้ได้ครบถ้วนและได้สัดส่วนคือการทานให้หลากหลายทุกวัน (เช่นธัญพืช
ที่ผ่านการขัดสีน้อยที่สุด ผลไม้ ผัก เนื้อ ถั่ว และผลิตภัณฑ์นม) ควรทำอาหารที่มีสารอาหารซึ่งลูกน้อย
อาจจะขาดไป เช่นธาตุเหล็ก สังกะสี โปแตสเซียม วิตามินอี และอาหารที่มีเส้นใย การทานอาหารให้
หลากหลายจะทำให้ลูกน้อยได้รับสารอาหารครบถ้วนเพื่อการเจริญเติบโตและพัฒนาการที่สมบูรณ์

2. เสิร์ฟผักและผลไม้หลากสีสัน
การได้ทานอาหารสีสันต่าง ๆ ตลอดทั้งวัน จะช่วยให้ลูกรับรู้รสชาติต่าง ๆ เพิ่มขึ้น และได้รับสารอาหาร
ที่หลากหลาย คุณแม่ควรให้ลูกได้ลองผักและผลไม้ใหม่ ๆ ที่มีสีสันต่างกันไป อย่าง สีฟ้า/ม่วง สีแดง
สีเหลือง/ส้ม สีขาว และสีเขียว การให้ลูกลองของใหม่ ๆ ร่วมกับอาหารเดิมที่ลูกชอบ จะช่วยให้ลูกยอมรับ
ผัก ผลไม้ชนิดใหม่ได้มากขึ้น เช่น ถ้าลูกชอบทานข้าวโพด อาจลองโรยพริกแดงหั่นเป็นชิ้นลูกเต๋า
เพิ่มเข้าไปหน่อย

3. ปล่อยให้ลูกตัดสินใจเองว่าจะทานแค่ไหน
กระเพาะเด็กมีขนาดเล็กกว่าของผู้ใหญ่มาก จึงต้องการอาหารปริมาณน้อยแต่มีคุณค่าทางโภชนาการสูง
ควรให้ลูกได้ทานอาหารมื้อหลัก 3 มื้อโดยไม่เน้นปริมาณ และเสริมอาหารว่าง 2-3 ครั้งต่อวัน ให้ลูก
หัดให้ลูกเรียนรู้ถึงความอยากของตัวเองโดยให้ลูกเป็นคนตัดสินใจว่าจะทานอะไร แค่ไหน ถ้าลูกหิว
ก็ให้ลูกกินให้อิ่ม แต่ถ้าอิ่มแล้ว ก็ให้หยุด สอนให้ลูกควบคุมการทานอาหารของตัวเอง
คอยดูท่าทางต่อไปนี้ที่จะเป็นสัญญาณแสดงว่าลูกหิวหรืออิ่ม
หิว
  • ลูกจะพูดคำสั้น ๆ ประกอบกับการทำท่าชี้มือไปว่า ‘อยากกิน’
  • อาจพาคุณแม่ไปถึงตู้เย็นแล้วชี้ไปที่อาหารหรือเครื่องดื่มที่อยากทาน
    อิ่ม
  • ลูกจะพูดคำสั้น ๆ เช่น ‘พอ’ หรือ ‘ลง’
  • ลูกจะเริ่มเล่นหรือขว้างอาหาร

4. ฉลาดเลือกของว่าง
เด็กวัยหัดเดินหรือก่อนเข้าเรียนจะได้รับแคลอรี่จากอาหารว่างประมาณ 25% คุณแม่จึงควรดูว่าอาหารว่าง
ที่เลือกให้ลูกทุกอย่างจะมีสารอาหารพอเพียง และระวังอาหารประเภทแคลอรี่สูงแต่ไม่มีประโยชน์
อย่าง - มันฝรั่งทอด คุกกี้ น้ำดื่มรสหวาน - ควรให้ลูกทานเป็นครั้งคราวก็พอ เพราะจะทำให้ลูกอิ่มจน
ไม่อยากทานอาหารที่มีโภชนาการสูง

5. ดื่มเครื่องดื่มที่มีประโยชน์
เครื่องดื่มต่าง ๆ มีความสำคัญต่อการคงสภาพความชุ่มชื้น แต่การดื่มมากเกินไป จะทำให้ลูกน้อยรู้สึกอิ่ม
จนไม่อยากทานอาหาร ควรจำกัดปริมาณนม หรือนมพร่องมันเนย 2% อยู่ที่วันละ 2 ถ้วย ต่อวัน หากลูก
ไม่ดื่มนมแม่แล้ว สำหรับน้ำผลไม้ 100% ก็ควรให้อีกในปริมาณ 4-6 ออนซ์ต่อหนึ่งหน่วยผลไม้ต่อวัน
ให้ดื่มน้ำหลีกเลี่ยงเครื่องดื่มที่มีรสหวานจากน้ำตาลหรือน้ำตาลเทียม

6. ทานไขมันที่ดี
อาหารที่มีประโยชน์สำหรับเด็กวัยนี้ ไม่ได้หมายถึงอาหารที่มีไขมันต่ำ เพราะที่จริงแล้ว เด็กต้องการ
แคลอรี่จากไขมันเพื่อการเติบโตและพัฒนาการทางสมอง สถิติระบุว่า มีเด็กกว่า 1 ใน 4 ได้รับไขมัน
ต่อวันไม่พอ และอีกกว่า 1 ใน 3 ที่ได้รับกรดอัลฟา ไลโนเลนิก ซึ่งมีกรดไขมันโอเมก้า 3 เข้มข้นที่สำคัญ
ต่อร่างกาย ไม่พอเพียง
ทั้งนมแม่และนมผงต่างก็เป็นแหล่งที่มาของกรดไขมันที่จำเป็นสำหรับทารก แต่พอเปลี่ยนให้ลูกทาน
นมวัวแล้ว คุณแม่ควรผสมน้ำมันถั่วเหลืองหรือน้ำมัน Canola ลงไปอีก 1 ช้อนโต๊ะ หรืออาจใช้น้ำสลัด
เพื่อให้ลูกได้รับไขมันที่จำเป็น
เด็กเล็กมักได้รับวิตามินอี (พบในไขมันและอาหารเสริม) ไม่เพียงพอด้วยเช่นกัน อย่างไรก็ดี
คุณแม่ไม่ควรให้ลูกทานอาหารที่มีไขมันอิ่มตัวและทรานส์แฟต (trans fats)

7. เลือกอาหารที่มีโซเดียมต่ำ
คุณแม่อาจเห็นว่าอาหารเด็กมักขาดรสชาติ แต่ลูกน้อยของคุณไม่ได้ต้องการเพิ่มเกลือเพื่อให้รสอาหาร
เป็นแบบที่คุณต้องการเลย
เด็กวัยหัดเดินและช่วงก่อนเข้าเรียนมักบริโภคโซเดียมเยอะเกินไปอยู่แล้ว ขอให้คุณแม่ยึดตามหลักการ
ทานอาหารให้หลากหลายเข้าไว้ โดยควรเป็นอาหารที่ไม่เติมเกลือหรือมีได้ในปริมาณเล็กน้อยจาก
ตัวอาหารเอง (เช่นธัญพืชที่ผ่านการขัดสีน้อยที่สุด ผลไม้ ผัก เนื้อ ถั่ว และผลิตภัณฑ์นม) ซึ่งจะเป็นการ
ลดปริมาณโซเดียมให้ลูกโดยอัตโนมัติ นอกจากนี้ ยังต้องจำกัดปริมาณอาหารรสเค็มอย่างมันฝรั่งทอด
หรืออาหารผู้ใหญ่อย่างซุป แนะนำให้อ่านดูฉลากข้างกล่อง โดยเลือกที่ระบุไว้ว่า ‘โซเดียมต่ำ’ แทนที่จะ
เลือกแบบ ’ไม่ใส่เกลือ’ หรือ ‘ใส่เกลือน้อย’

คลิปการเสริมสร้างสุขภาพ มช. ทั้ง 9 ด้าน

เรื่องเล่าของโภชนากร...บนเส้นทางการพัฒนาเพื่อโภชนาการที่ดี

เรื่องเล่าของโภชนากร...บนเส้นทางการพัฒนาเพื่อโภชนาการที่ดี
วารสารโภชนาการฯ เล่มนี้ ได้รับเกียรติจากศาสตราจารย์ ดร.สิรินทร์ พิบูลนิยม ที่ปรึกษาสมาคมโภชนาการแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ของสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาสยามบรมราชกุมารี มาถ่ายทอดเรื่องราวบนเส้นทางโภชนศาสตร์ให้เราได้ตระหนักและพร้อมรับมือกับปัญหาด้านโภชนาการได้อย่างทันท่วงที

เขียนโดย สุพิชญา ศรีภมร





ศาสตราจารย์ ดร.สิรินทร์ พิบูลนิยม
ที่ปรึกษาสมาคมโภชนาการแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ของสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาสยามบรมราชกุมารี



อาหารที่เรารับประทานกันอยู่ทุกวันนี้ คงเป็นที่คุ้นเคยของผู้บริโภคเป็นส่วนใหญ่ แต่หากกลับไปพิจารณาอาหารเมื่อครั้งอดีตที่คนไทยนิยมบริโภค จะพบว่าช่างแตกต่างกันเสียเหลือเกิน นอกจากความแตกต่างด้านรสชาติและองค์ประกอบแล้ว สิ่งที่เปลี่ยนแปลงไปในทางโภชนศาสตร์ก็เป็นอีกประการหนึ่งที่นักโภชนาการควรตระหนักถึง วารสารโภชนาการฯ เล่มนี้ ได้รับเกียรติจากศาสตราจารย์ ดร.สิรินทร์ พิบูลนิยม ที่ปรึกษาสมาคมโภชนาการแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ของสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาสยามบรมราชกุมารี มาถ่ายทอดเรื่องราวบนเส้นทางโภชนศาสตร์ให้เราได้ตระหนักและพร้อมรับมือกับปัญหาด้านโภชนาการได้อย่างทันท่วงที

จุดเริ่มต้นบนเส้นทางวงการอาหารและโภชนาการ

หลังจากที่อาจารย์จบดุษฎีบัณฑิตด้านชีวเคมีและโภชนาการ จากมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด ประเทศสหรัฐอเมริกา อาจารย์ได้กลับมาเป็นอาจารย์ประจำที่ภาควิชาเคมี มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เป็นระยะเวลา 3 ปี และได้ริเริ่มก่อตั้งภาควิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการอาหารขึ้น จากนั้นได้ย้ายไปรับราชการที่คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล เมื่อเริ่มก่อตั้งภาควิชาชีวเคมี ซึ่งนับเป็นหัวหน้าภาควิชาคนไทยคนแรก (ก่อนหน้านั้นเป็นชาวต่างประเทศ) ในระหว่างดำรงตำแหน่งอาจารย์ได้สอนวิชาชีวเคมีให้กับนักศึกษาคณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี และสอนวิชาชีวเคมีและโภชนาการให้กับนักศึกษาระดับปริญญาโทและเอก

งานวิจัยนำไปสู่การพัฒนา

ในระหว่างดำรงตำแหน่ง อาจารย์ได้ทำงานวิจัยทางด้านโภชนาการและชีวเคมีหลายเรื่อง เช่น วิตามินอีและบทบาทของวิตามินอีในร่างกาย การเกิดโรคเหน็บชาเนื่องจากขาดวิตามินบี 1 โดยพบว่า ผู้ที่ประสบปัญหาการขาดวิตามินบี 1 นั้น ส่วนใหญ่เป็นประชากรในเขตภาคเหนือและตะวันออกเฉียงเหนือ จึงได้สำรวจพฤติกรรมการบริโภคอาหารและพบว่าประชากรส่วนใหญ่ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือนิยมบริโภคปลาร้าดิบ ในขณะที่ประชากรจำนวนไม่น้อยในเขตภาคเหนือนิยมบริโภคใบชาหรือใบเมี่ยงร่วมกับอาหาร จึงได้ทำการทดสอบโดยการนำปลาร้า ใบชาและใบเมี่ยงไปทำการวิเคราะห์ จากการวิเคราะห์พบว่า ในปลาร้า ประกอบไปด้วยสารอาหารหลายชนิด แต่มีเอนไซม์ชนิดหนึ่งที่มีผลทำลายวิตามินบี 1 ทำให้ร่างกายไม่สามารถนำไปใช้ได้ เอนไซม์ดังกล่าวคือเอนไซม์ไธอะมิเนส และผลจากการวิเคราะห์ใบชาและใบเมี่ยงนั้น พบว่ามีส่วนประกอบของสารชนิดพอลิฟีนอล เช่น แทนนิน ซึ่งจะไปจับกับวิตามินบี 1 ในอาหาร ทำให้ผู้ที่ดื่มหรือเคี้ยวใบชา ใบเมี่ยง หลังอาหารหรือร่วมกับอาหารเป็นประจำนั้นขาดวิตามินบี 1 เมื่อพบปัญหาเช่นนั้นแล้ว จึงได้ทำการวิเคราะห์อย่างเดียวกันโดยเปลี่ยนให้กลุ่มทดลองบริโภคปลาร้าต้มสุกแทน และให้บริโภคใบชาหรือใบเมี่ยงหลังจากรับประทานอาหารไปแล้วอย่างต่ำ 30 นาที ซึ่งจากการทดลองดังกล่าวได้ผลเป็นที่น่าพอใจคือ กลุ่มทดลองมีอาการเหน็บชาลดน้อยลงหรือหมดไป ส่วนอีกการทดลองหนึ่งนั้นได้ทดสอบโดยการบีบน้ำมะนาวหรือเติมวิตามินซีลงไปในน้ำชาซึ่งพบว่าสามารถยับยั้งการทำลายวิตามินบี 1 ได้

นอกจากนี้ยังมีงานวิจัยเรื่องความดื้อของเชื้อมาเลเรียในเลือดของผู้ป่วยและผู้ที่มีสภาพร่างกายปกติ และศึกษาร่วมกับคณะทำงานเพื่อริเรื่มให้มีการคุมกำเนิดในเพศชาย เพื่อลดอัตราการเกิดโรคมะเร็งเต้านมและมะเร็งปากมดลูกจากการใช้ยาคุมกำเนิดในเพศหญิง ทำงานได้ระยะหนึ่งก็ย้ายไปดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการวิทยาเขตศาลายา มหาวิทยาลัยมหิดล ในปี พ.ศ. 2523 เพื่อเตรียมความพร้อมด้านอาคารสถานที่ หอพักอาศัยของนักศึกษาและสิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆ สำหรับการย้ายนักศึกษาชั้นปีที่ 1 ไปยังวิทยาเขตศาลายา ในปี พ.ศ. 2525 และได้ถ่ายโอนงานวิจัยให้กับผู้ร่วมวิจัยท่านอื่นเพื่อดำเนินการต่อไป

ต่อมาได้ดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี โดยได้บุกเบิกให้มีสาขาวิจัยที่หลากหลายขึ้น มีจุดมุ่งหมายเพื่อให้มีการนำวิชาวิทยาศาสตร์ไปใช้ในการแก้ปัญหาของชุมชน ภายใต้หลักการ “from Molecule to Community” นั่นคือ การนำเอางานวิจัยระดับโมเลกุลไปพัฒนาอย่างต่อเนื่องจนกระทั่งสามารถประยุกต์ใช้เพื่อแก้ปัญหาชุมชนได้ โดยในสถาบันฯ ประกอบไปด้วยคณาจารย์ผู้เชี่ยวชาญในสาขาวิจัยต่างๆ โดยได้ดำรงตำแหน่งเป็นระยะเวลา 8 ปี จนกระทั่งเกษียนอายุราชการ และในเวลาเดียวกันอาจารย์ยังได้เป็นผู้ก่อตั้งวิทยาลัยนานาชาติ มหาวิทยาลัยมหิดล ซึ่งมีการเรียนการสอนเป็นภาษาอังกฤษทั้งหมด โดยเริ่มดำเนินการภายใต้หลักสูตรตามมาตรฐานสากล นั่นคือ ในช่วง 2 ปีแรก เป็นหลักสูตรพื้นฐานทั้งด้านวิทยาศาสตร์ สังคมศาสตร์และศิลปศาสตร์ เพื่อให้นักศึกษามีพื้นฐานเท่าเทียมกับนักศึกษานานาชาติและปูพื้นฐานให้นักศึกษามีความรอบรู้และวิสัยทัศน์กว้างขวางในระดับสากล หรือที่เรียกว่าการสร้างคนให้เป็น Global Population จากนั้นจึงแยกออกเป็นสาขาต่างๆ ในช่วงสองปีหลัง อีกทั้งอาจารย์ยังเป็นผู้เริ่มก่อตั้งสาขาบริหาร โรงแรมและการท่องเที่ยว (Travel Industry Management) เนื่องจากเล็งเห็นว่าผู้บริหารและผู้ปฏิบัติงานระดับกลางในสาขาดังกล่าวค่อนข้างน้อยและขาดแคลน โดยได้ขอคำปรึกษาจากท่านผู้หญิงชนัตถ์ ปิยะอุย เจ้าของโรงแรมดุสิตธานี พบว่าบุคลากรบริหารระดับกลาง (Middle Manager ) ยังขาดอยู่ ดังนั้นจึงต้องสร้างบุคลากรดังกล่าวเพื่อพัฒนาเป็นผู้บริหารระดับสูงต่อไป โดยจัดให้มีการเรียนการสอนภาษาจีนและญี่ปุ่นเพิ่มเติมด้วยและจากการเล็งเห็นปัญหาต่างๆ จึงมีแนวคิดว่าการพัฒนาต้องเริ่มจากการพัฒนาที่ตัวบุคคล จึงได้จัดตั้งกองทุนเพื่องานวิจัยศาสตราจารย์ ดร.สิรินทร์ พิบูลนิยม ให้กับนักวิจัยอีกด้วย

เผย 5 เคล็ด(ไม่)ลับ เลือกอาหารเพื่อสุขภาพตามช่วงอายุ


เผย 5 เคล็ด(ไม่)ลับ เลือกอาหารเพื่อสุขภาพตามช่วงอายุ





 ปัจจุบันการบริโภคอาหารเพื่อสุขภาพในชีวิตประจำวัน เช่น บริโภคผักและผลไม้เป็นประจำทุกวัน โดยเลือกผักและผลไม้ที่มีสีต่างๆกัน ทำให้ร่างกายได้รับเส้นใยอาหารแลพไฟโตเคมิคัลที่มีคุณสมบัติเป็นสารต้านออกซิแดนท์ เช่น ไลโคฟีนในมะเขือเทศ แคโรทีนอยด์ในแครอท และคลอโรฟิลด์ในผักใบเขียว สารออกซิแดนท์เป็นสาเหตุของการแก่ก่อนวัยและการเกิดโรคภัยต่างๆ ความนิยมบริโภคถั่วเหลือง แหล่งโปรตีนจากพืชซึ่งปลอดภัยมากกว่าโปรตีนจากสัตว์ และการบริโภคน้ำมันพืชมีกรดไขมันจำเป็น พบมากในน้ำมันมะกอก รำข้าว ทานตะวัน และน้ำมันงา โดยเฉพาะการได้รับวิตามินอีซึ่งเป็นสารต้านอนุมูลอิสระ ปัจจุบันน้ำมันพืชเข้ามามีบทบาทต่อผู้รักสุขภาพอย่างขาดไม่ได้

เคล็ดไม่ลับ 5 วิธีการเลือกอาหารเพื่อสุขภาพตามช่วงอายุ

          การรู้จักเลือกรับประทานอาหารไม่เพียงแต่ช่วยเรื่องสุขภาพเท่านั้น หากยังเอื้อต่อความสวยความงามอีกด้วย ความจริงการเลือกอาหารให้เหมาะสมตามช่วงวัยก็เป็นอีกวิธีหนึ่งที่ช่วยให้สุขภาพดีได้ เพราะในแต่ละช่วงอายุมีความแตกต่างกันในด้านพัฒนาการของร่างกายและลักษณะการดำเนินชีวิต วันนี้จึงขอเสนอเรื่องราวของอาหารที่เกี่ยวข้องกับช่วงอายุทั้ง 4 ซึ่งไม่ใช่เรื่องยากแต่อย่างใดที่คุณจะลองทำตาม

          วัยที่ขึ้นต้นด้วยเลข 2 ช่วงอายุตั้งแต่ 20 ปีขึ้นไปเป็นช่วงที่ร่างกายมีการพัฒนาและเติบโตเต็มที่ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการเรียน การทำงาน และเป็นวัยที่ใช้ชีวิตอย่างไม่รู้จักเหน็ดเหนื่อย ยิ่งมีการเคลื่อนไหวในชีวิตประจำวันมากเท่าไร ร่างกายก็ยิ่งเผาผลาญและใช้พลังงานมากขึ้นเท่านั้น ดังนั้น ควรเลือกรับประทานอาหารที่เหมาะสม โดยเลือกรับประทานจำพวกเนื้อสัตว์และถั่วต่างๆ รวมถึงข้าวและแป้งมากเป็นอันดับหนึ่ง ตามด้วยผักผลไม้เป็นอันดับสอง ส่วนนมและอาหารทดแทนแคลเซียมต่างๆ เช่น เต้าหู้ ปลาเล็กปลาน้อย นมถั่วเหลืองเสริมแคลเซียม ตามมาเป็นอันดับสาม และให้ความสำคัญของไขมันเป็นอันดับสุดท้าย ปลาเป็นอาหารสมองที่ช่วยรักษาผนังเซลล์ประสาทในสมองให้แข็งแรง ไม่หลงลืมอะไรง่ายๆ ผักสีเขียวอย่างผักบุ้ง ผักกระเฉด ผักคะน้า ถั่วฝักยาว ช่วยบำรุงสายตา สร้างกระดูกและฟันให้แข็งแรง ผักผลไม้สีเหลืองอย่างกล้วยหอมก็ถือเป็นผลไม้คลายเครียดชนิดหนึ่ง

          วัยที่ขึ้นต้นด้วยเลข 3 อายุขึ้นเลข 3 หลายคนเริ่มตกใจกลัว แต่การรู้จักเลือกรับประทานจะทำให้ผู้อื่นไม่สามารถเดาอายุคุณจากรูปร่างหน้าตาได้เลย ในช่วงเริ่มวัยผู้ใหญ่ความต้องการพลังงานยังคงอยู่ เพราะเป็นช่วงชีวิตของการทำงาน แต่ต้องเพิ่มความระมัดระวังในเรื่องของไขมันและโคเลสเตอรอลที่จะส่งผลกระทบกับรูปร่างหน้าตาภายนอกที่เห็นการเปลี่ยนแปลงได้ชัดเจน นอกจากนี้ยังส่งผลกระทบต่อสุขภาพร่างกายในอนาคตด้วย เพราะการรับประทานอาหารที่มีไขมันหรือโคเลสเตอรอลสูง เช่น หมูสามชั้น เนยแข็ง กะทิ เนยเทียม เป็นต้น จะสร้างปัญหาให้หลอดเลือดและหัวใจ แต่คุณสามารถเลือกรับประทานอาหารที่ช่วยลดไขมันและโคเลสเตอรอล เช่น ปลาทะเล ช่วยลดความดันโลหิต พวกถั่วเมล็ดแห้งอย่างถั่วแดง ถั่วเขียว ถั่วเหลือง ช่วยลดความเสี่ยงจากโรคหัวใจ และมีโปรตีนสูงเพื่อให้พลังงานแทนสัตว์ใหญ่ได้อีก อาหารจำพวกข้าว ธัญพืชไม่ขัดสี อย่างข้าวซ้อมมือ ขนมปังโฮลวีท มีใยอาหารสูง ช่วยให้อิ่มท้องนานและส่งผลดีต่อระบบลำไส้

          วัยที่ขึ้นต้นด้วยเลข 4 วัยทองถูกเรียกแทนวัย 40 ปีขึ้นไป เนื่องจากสภาพร่างกายเริ่มเปลี่ยนแปลง โดยเฉพาะผู้หญิง ส่วนผู้ชายวัยนี้ก็จะเริ่มมีโรคต่างๆที่ไม่เคยออกอาการ ซึ่งเรียกกันว่าเป็น วิถีทางธรรมชาติ” แต่ทั้งนี้การชะลอวัยหรือป้องกันโรคต่างๆที่มากับวัยไม่ได้ยุ่งยากเกินกว่าที่เราจะทำได้ สำหรับช่วงวัยนี้ความต้องการพลังงานจะลดลง แต่ความต้องการแคลเซียมและวิตามินต่างๆเพิ่มขึ้น ซึ่งจะได้รับจากผักผลไม้ที่มีกากใยอาหารสูง แล้วยังมีสารต้านอนุมูลอิสระอย่างวิตามินซีจากอาหารที่หารับประทานได้ง่าย เช่น ส้ม ฝรั่ง มะเขือเทศ แคนตาลูป ส่วนอาหารที่มีวิตามินอี ได้แก่ น้ำมันพืช เนยถั่ว ถั่วลิสง อัลมอนด์ นอกจากนี้ควรรับประทานเต้าหู้ โปรตีนไขมันต่ำ ซึ่งให้แคลเซียมมากกว่าเนื้อสัตว์อย่างอื่น แต่ไม่ควรลืมหลีกเลี่ยงอาหารที่เป็นตัวเร่งความแก่ให้เร็วขึ้น เช่น อาหารไขมันสูงประเภททอดกรอบหรือผัดน้ำมันมากๆ เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ และเครื่องดื่มกาเฟอีนทั้งหลาย

          วัยที่ขึ้นต้นด้วยเลข 5 การก้าวเข้าสู่ช่วงวัย 50 เป็นต้นไปนั้นไม่ได้ส่งผลต่อร่างกายอย่างเดียว แต่ยังส่งผลต่อสภาพจิตใจด้วย เพื่อเตรียมพร้อมรับมือกับวัยนี้คุณควรเข้าใจการทำงานของร่างกายที่มีประสิทธิภาพลดลง โดยเฉพาะระบบการย่อยการดูดซึมอาหาร ทำให้ร่างกายขาดสารอาหารบางอย่าง ช่วงนี้คุณอาจไม่รู้สึกกระหายน้ำเท่าไหร่ แต่ควรดื่มน้ำให้สม่ำเสมอ อย่างน้อยวันละ 8-12 แก้ว เพื่อป้องกันการขาดน้ำโดยไม่รู้ตัว ควรรับประทานคาร์โบไฮเดรตให้น้อยลงและพยายามเลือกชนิดไม่ขัดสี เน้นอาหารจำพวกปลาเพื่อไม่ให้ขาดโปรตีน ที่สำคัญคือเป็นเนื้อสัตว์ที่ย่อยง่าย

          วัยนี้จะพบปัญหากระดูกเปราะ กระดูกพรุนอย่างชัดเจน ดังนั้น ควรได้รับแคลเซียมอย่างเพียงพอ อาหารแคลเซียมสูงอยู่ในนม โยเกิร์ตชนิดครีม เนยแข็ง หรือแม้แต่ปลาตัวเล็กตัวน้อย พวกผักใบเขียวก็มี เช่น คะน้า กวางตุ้ง และบรอกโคลี จะช่วยลดปัญหาเรื่องกระดูกให้รุนแรงน้อยลง การแก้ไขภาวะขาดน้ำอาจให้ดื่มน้ำสมุนไพร เช่น กระเจี๊ยบ เก๊กฮวย น้ำใบเตย นอกเหนือจากน้ำเปล่า เพราะช่วยบรรเทาโรคบางอย่างและให้ประโยชน์กว่าการดื่มเครื่องดื่มที่มีกาเฟอีน

          สิ่งสำคัญไม่ว่าคุณจะอยู่ในช่วงวัยใดควรดูแลเรื่องการกินอยู่ตลอดเวลา ไม่ว่าจะเป็นโรคหรือไม่ก็ตาม เพราะคนส่วนใหญ่มักจะดูแลตัวเองเมื่อพบว่าตัวเองมีโรคหรือมีปัญหาสุขภาพแล้วเท่านั้น นอกจากนี้การเพิ่มกิจกรรมเคลื่อนไหวระหว่างวันให้มาก ทำบ่อยๆจนติดเป็นนิสัย จะช่วยให้สุขภาพดีมากยิ่งขึ้น โดยเฉพาะประโยชน์ด้านระบบการไหลเวียนเลือด ควบคุมน้ำหนักตัว และลดความเครียดของร่างกายได้


อาหารสุขภาพ


หมายถึงอาหารที่เมื่อรับเข้าไปแล้วน้ำหนักจะต้องอยู่ในเกฑ์ปรกติ ไม่เป็นโรคเรื้อรัง โดยการเพิ่มอาหารผักและผลไม้ ลดเกลือ ลดน้ำตาล ลดไขมัน
อาหารสุขภาพ
องค์การอนามัยโรคได้นิยามเรื่องอาหารสุขภาพว่า การรับประทานอาหารที่ไม่มีคุณภาพ ร่วมกับการไม่ออกกำลังกายจะเป็นบ่อเกิดโรคเรื้อรัง องค์การอนามัยโลกได้แนะนำอาหารสุขภาพดังนี้
  • รับประทานอาหารที่สมดุลและมีน้ำหนักที่ปรกติ
  • ให้ลดอาหารไขมัน และหลีกเลี่ยงไขมันอิ่มตัว Saturated fat,Transfatty acid
  • ให้รับประทานอาหารพวกผัก ผลไม้ ธัญพืขเพิ่มมากขึ้น
  • ลดอาหารที่มีน้ำตาล
  • ลดอาหารเค็ม
สำหรับ National Health Service (NHS)ของประเทศอังกฤษได้นิยามอาหารสุขภาพไว้ว่า มีสองปัจจัยที่ต้องคำนึงถึงได้แก่
  • รับประทานอาหารที่ให้พลังงานสมดุลกับพลังงานที่ใช้
  • รับประทานอาหารที่มีความหลากหลาย
NHSจึงได้กำหนดแนวทางอาหารสุขภาพไว้ดังนี้
  • ทุกท่านต้องรู้จักจานอาหารสุขภาพซึ่งมีอาหารทั้งหมด 5 หมู่
  • ในจานอาหารสุขภาพจะบอกเราว่าควรจะรับประทานอาหารให้มีสัดส่วนอย่างไร
สำหรับสมาคมโรคหัวใจประเทศอเมริกาได้กำหนดอาหารสุขภาพไว้ดังนี้
  1. รับประทานผักและผลไม้เพิ่ม.โดยตั้งเป้าให้รับผักและผลไม้วันละ 4-5ส่วนทุกวัน
  2. ให้รับประทานธัญพืชเพิ่มEat more whole-grain foods.เนื่องจากผักและผลไม้มีไขมันต่ำ ใยอาหารสูงได้แก่  Whole-grain foods include whole-wheat bread, rye bread, brown rice and whole-grain cereal.
  3. ให้ใช้น้ำมัน olive, canola, corn or safflower oil สำหรับปรุงอาหารและจำกัดจำนวนที่ใช้ 
  4. รับประทานไก่ ปลา ถั่วมากกว่าเนื้อแดง เนื่องจากไก่ที่ไม่มีหนัง ปลา ถั่วจะมีปริมาณไขมันน้อยกว่าเนื้อแดง.
  5. อ่านฉลากก่อนซื้อหรือรับประทานทุกครั้งเพื่อเลือกอาหารที่มีคุณภาพ
หลักการง่ายๆที่จะทำให้เราได้รับอาหารเพื่อสุขภาพ
อาหารจานสุขภาพ
ชนิดของอาหาร และสัดส่วนของอาหารที่ควรจะรับประทานทุกเพศ ทุกวัย ทุกน้ำหนัก อ่านที่นี่
รับประทานผักและผลไม้ให้มาก
ให้รับประทานผัก และผลไม้ห้าส่วนทุกวันโดยการสลับผักและผลไม้อ่านที่นี่
รับประทานปลาให้มาก
เนื้อปลาจะให้โปรตีน วิตามินและเกลือแร่ที่สำคัญ ควรจะรับประทานอย่างน้อยสองส่วนต่อสัปดาห์ ปลาที่ควรจะรับประทานควรจะเป็นประเภทปลาที่มีมันสูง อ่านที่นี่
ลดทั้งน้ำตาลและไขมัน
ไขมันจากสัตว์ หรือไขมันจากพืชบางชนิด มีไขมันอิ่มตัวหรือไขมัน Trans fat ซึ่งไม่เป็นผลดีต่อสุขภาพต้องหลีกเลี่ยง อ่านที่นี่ ลดน้ำตาลอ่านที่นี่
รับประทานเกลือให้น้อย
การรับประทานเกลือมาก นอกจากจะทำให้เกิดความดันโลหิตสูงแล้ว ยังทำให้เกิดโรคมะเร็ง กระดูกพรุน เกี่ยวกับเกลืออ่านที่นี่ เกลือและสุขภาพอ่านที่นี่
ฉลาดเลือกรับประทานอาหารแป้ง
อาหารแป้งเป็นอาหารหลักที่ให้พลังงาน การเลือกอาหารแป้งที่มีใยอาหารจะช่วยลดโรคเรื้อรัง อ่านที่นี่
ที่มาhttp://www.siamhealth.net/public_html/Health/good_health_living/diet/diet_index.htm