วันอาทิตย์ที่ 9 กันยายน พ.ศ. 2555

จับผิดมะเร็งต่อมลูกหมาก เป็น-ไม่เป็น สังเกตยังไง?


กระแสข่าวที่ลือกันให้แซ่ดว่าอดีตนายกรัฐมนตรี ทักษิณ ชินวัตร เป็นโรคร้ายอย่าง “มะเร็งต่อมลูกหมาก” ทำให้เกิดการวิพากษ์วิจารณ์กันอย่างหนักโดยเฉพาะอย่างยิ่งในโลกไซเบอร์แต่จะเป็นหรือไม่เป็นนั้นคงไม่ใช่ประเด็นสำคัญสำหรับคนรักสุขภาพอย่างเราๆ เอาเป็นว่าฟังหูไว้หูและคิดว่าเหมือนดูละครแล้วย้อนดูตัวน่าจะดีกว่า ถ้าเป็นอย่างนั้นได้ก็น่าจะเกิดประโยชน์บ้าง (จริงมั้ย) โดยเฉพาะตอนนี้ เราอาจหันมาใส่ใจและสังเกตตัวเองว่า เอ๊ะ! เรามีอาการผิดปกติหรือมีความเสี่ยงต่อมะเร็งต่อมลูกหมากหรือเปล่า? แฮ่ม แต่ถ้าเป็นศรีภรรยากำลังอ่านก็อาจเก็บข้อมูลไปเตือนคนข้างๆ กายก็ได้นะ(ไม่ว่ากัน)
ต่อมลูกหมากเป็นอวัยวะหนึ่งในระบบสืบพันธุ์ ของเพศชายมีหน้าที่สร้างน้ำเมือกซึ่งเป็นส่วนประกอบของน้ำเชื้อ
ส่วน มะเร็งต่อมลูกหมากนั้นส่วนใหญ่เกิดในผู้สูงอายุ ไม่ค่อยพบในเด็กหรือวัยฉกรรจ์และพบสูงเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ตามอายุที่มากขึ้น ในประเทศไทยนั้นมะเร็งต่อมลูกหมาก พบมากเป็นอันดับที่ 5 ของมะเร็งชนิดต่างๆ ในเพศชาย และเป็นสาเหตุการตายอันดับ 2 ของมะเร็งต่างๆ ในผู้ชาย รองจากมะเร็งปอด นอกจากนี้ ยังพบว่าผู้ชาย 1 คนในทุก 10 คน เสี่ยงที่จะเป็นมะเร็งต่อมลูกหมาก ทั้งนี้ ไม่ต่ำกว่า 15% ของผู้ชายที่มีอายุ 50 ปี ไม่ต่ำกว่า 30% ของผู้ชายอายุ 60 ปี และไม่ต่ำกว่า 40% ของผู้ชายอายุ 70 ปี อาจเป็นมะเร็งต่อมลูกหมากโดยที่มิได้คาดคิดซึ่งผู้ป่วยส่วนใหญ่ มักจะรู้และไปหาหมอในระยะลุกลามแล้ว ทำให้ไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้
เกิด เป็นผู้ชายยังไงๆ ก็เสี่ยง ยิ่งอายุมากก็ยิ่งเสี่ยง ดังนั้นก่อนที่จะปล่อยให้เป็นเราไปล้วงลึกเจ้ามะเร็งชนิดนี้ กันดีกว่า
มะเร็ง ต่อมลูกหมากจนถึงวันนี้ เรายังไม่ทราบสาเหตุที่แน่ชัด แต่จากการศึกษาวิจัยพบว่าปัจจัยเสี่ยงสำคัญที่อาจก่อให้เกิดมะเร็งต่อมลูก หมากนั้นมีอยู่หลายปัจจัย ได้แก่
อายุ ยิ่งอายุมากก็ยิ่งเสี่ยง เนื่องจากคนที่อายุมากขึ้นจะมีเซลล์ในร่างกายเปลี่ยนแปลงไปเป็นเซลล์มะเร็ง ได้ง่ายขึ้น
ฮอร์โมนเพศชาย จากการศึกษาวิจัยพบว่า ถ้าร่างกายมีฮอร์โมนเพศชายสูงและมีอยู่เป็นระยะเวลานานๆ โอกาสเกิดมะเร็งต่อมลูกหมากจะสูงขึ้น ดังนั้นการผ่าตัดเอาลูกอัณฑะออกทั้ง 2 ข้าง ซึ่งเป็นวิธีลดระดับฮอร์โมนเพศชายในร่างกาย จึงเป็นวิธีการรักษาที่สำคัญวิธีการหนึ่งของมะเร็งต่อมลูกหมาก
พันธุ กรรมอัตราเสี่ยงของชายที่มีญาติสายตรงเป็นมะเร็งต่อมลูกหมากจะสูงกว่าผู้ไม่ มีประวัติในครอบครัว
อาหาร การศึกษาวิจัยจากหลายแห่งพบว่าการบริโภคอาหารที่มีไขมันสูง เพิ่มปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรคมะเร็งต่อมลูกหมากสูงกว่าคนเอเชีย
ส่วน การสูบบุหรี่ ดื่มเหล้า การสำส่อนทางเพศ การเป็นหมัน หรือการผ่าตัดทำหมัน จากการศึกษาวิจัยพบว่าไม่น่าจะเป็นปัจจัยเสี่ยง
การป้องกันการเกิด โรคมะเร็งต่อมลูกหมาก ในปัจจุบันยังไม่พบวิธีการป้องกันที่เฉพาะเจาะจง ต้องป้องกันจากหลายๆ สาเหตุ นอกจากนี้ การตรวจคัดกรองบางครั้งก็ไม่ได้ผลเท่าที่ควร สมาคมโรคมะเร็งแห่งสหรัฐอเมริกา ได้เสนอคำแนะนำในการตรวจคัดกรองมะเร็งต่อมลูกหมากไว้ว่า ในผู้ชายที่อายุมากกว่า 50 ปี และเป็นผู้ที่มีสุขภาพแข็งแรง ซึ่งแพทย์ตรวจแล้วประเมินว่าน่าจะมีอายุยืนยาวอย่างน้อยอีก 10 ปี ควรให้แพทย์ตรวจคัดกรองมะเร็งต่อมลูกหมากทุกๆ ปี โดยการตรวจทวารหนัก
นอก จากการตรวจคัดกรองกันแล้ว ยังจำเป็นต้องสังเกตอาการต่างๆ ที่อาจเกิดความผิดปกติขึ้นได้ เช่น หากมีการปัสสาวะไม่คล่อง ปัสสาวะบ่อย กลั้นปัสสาวะไม่ได้ อาจมีอาการปวดเวลาปัสสาวะหรือเมื่อปัสสาวะสุด หรือมีปัสสาวะเป็นเลือด ซึ่งอาจไม่ใช่เฉพาะอาการเบื้องต้นของมะเร็งต่อมลูกหมากอาจเป็นอาการของภาวะ ต่อมลูกหมากอักเสบ ต่อมลูกหมากโต ซึ่งไม่ใช่มะเร็งก็ได้ ทางที่ดีต้องไปหาหมอเพื่อให้ท่านตรวจวินิจฉัยดีกว่า แต่ถ้าหากปล่อยให้มะเร็งชนิดนี้ลุกลามต่อไป ก็อาจส่งผลต่ออวัยวะอื่นๆ ได้เช่นกัน โดยเฉพาะอาการทางอวัยวะอื่นๆ เช่น หากแพร่กระจายไปยังกระดูกก็จะมีอาการปวดกระดูก เป็นต้น
ถึงตรงนี้ คงจะทำให้ผู้อ่าน (สว.) ฉุกคิดและรีบป้องกันตนเองตั้งแต่เนิ่นๆ หากพบว่าร่างกายมีความผิดปกติ ต้องรีบไปพบคุณหมอ เพราะมะเร็งนั้นก็เหมือนกับโรคร้ายอื่นๆ ที่รู้เร็วจะรักษาให้หายขาดได้
(หน้าพิเศษ Hospital Healthcare)

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น